
ประวัติภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร
การพัฒนาอุตสาหกรรรมเกษตรเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทั้งภายในและภายนอกประเทศ นอกจากเน้นการเรียน การสอน และการวิจัยในเชิงเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ประยุกต์แล้ว จำเป็นต้องสร้างบุคลากรที่มีความรู้ ความชำนาญ ในด้านการวิจัย และการปฏิบัติเชิงบริหาร ได้แก่ การบริหาร การจัดการและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ การจัดการการผลิต การจัดการคุณภาพ การบริหารการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตลอดถึงการบริหารธุรกิจเฉพาะอุตสาหกรรมเกษตร เพื่อเป็นการเสริมความรู้ความชำนาญทางการบริหารและการจัดการเทคโนโลยีเฉพาะอุตสาหกรรมเกษตร เป็นการแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางอุตสาหกรรมเกษตร ที่มีวิสัยทัศน์ทางด้านการบริหารและการจัดการเฉพาะอุตสาหกรรมเกษตร นอกจากนี้ยังเป็นการรักษาทรัพยากรบุคคลทางด้านอุตสาหกรรมเกษตรให้คงอยู่และประกอบวิชาชีพในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเกษตร โดยสามารถก้าวหน้าในตำแหน่งบริหารได้อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยต่อไป ทางคณะอุตสาหกรรมเกษตรจึงได้มีโครงการจัดตั้งสาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตรขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
3.1 เพื่อผลิตบุคลากรระดับบัณฑิตศึกษาในสาขาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร เป็นการพัฒนา วิชาชีพทางด้านอุตสาหกรรมเกษตร เสริมให้บุคลากรทางด้านอุตสาหกรรมเกษตรสามารถก้าวหน้า ในตำแหน่งบริหารงานในธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตรได้อย่างมีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตสำนึก ต่อผู้บริโภคและองค์กร
3.2 เป็นการพัฒนาวิชาการตลอดจนส่งเสริมการค้นคว้าวิจัยข้อมูลทางด้านอุตสาหกรรมเกษตร โดยการนำเอาความรู้ทางด้านการบริหารการจัดการมาใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล ของธุรกิจทางด้านอุตสาหกรรมเกษตร
3.3 เพื่อให้สอดคล้องและเหมาะสมกับความต้องการทางด้านเศรษฐกิจสังคมและสภาวะของประเทศ ในปัจจุบัน ที่มุ่งพัฒนาธุรกิจทางด้านอุตสาหกรรมเกษตรให้ครบวงจรและมีความสามารถในการแข่งขัน
3.4 เพื่อเป็นการให้บริการทางวิชาการ ทางด้านการจัดการเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตรแก่หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในคณะ มหาวิทยาลัยและหน่วยงานเอกชน
ปณิธาน
เป็นผู้นำในการผลิตมหาบัณฑิตที่มีความสามารถในการผสมผสานทักษะทางด้านเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตรและด้านการจัดการ อันจะนำไปสู่ความเป็นเลิศในการบริหาร และการจัดการธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตร
หลักสูตร
ปริญญาโท
โครงสร้างหลักสูตร
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร) แผน ก แบบ ก 1
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร) แผน ก แบบ ก 2
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร) แผน ข
คำอธิบายรายวิชา
*รายละเอียดของทุนการศึกษาสามารถดาวโหลดจากลิ้งค์นี้: https://goo.gl/q7ymFL
หลักสูตร
ปริญญาเอก
โครงสร้างหลักสูตร
คำอธิบายรายวิชา
*รายละเอียดของทุนการศึกษาสามารถดาวโหลดจากลิ้งค์นี้: https://goo.gl/q7ymFL
คณาจารย์
ผศ.ดร. รวิพิมพ์ ฉวีสุข (หัวหน้าภาค)
+66-2562-5092
ravipimc@gmail.com
M.S. (Industrial Engineering), University of PittsburghM.S. (Food Science and Agricultural Chemistry), McGill University
วท.บ. (พัฒนาผลิตภัณฑ์) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Capital investment analysis
Design and analysis of experiments
ผศ. ดร. อัจฉรา เกษสุวรรณ (รองหัวหน้าภาค)
D.B.A.(Marketing) (Candidate) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ศ.บ. (เศรษฐศาสตร์), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พฤติกรรมผู้บริโภค
ผศ. ดร. จุมพล วรสายัณห์ (รองหัวหน้าภาค)
Iowa State University
วท.บ. พัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
การประยุกต์แบบจำลองความน่าจะเป็น
ทฤษฎีแถวคอย
รศ. ดร. ธนโชติ บุญวรโชติ
วศ.บ.(วิศวกรรมไฟฟ้า) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วศ.บ.(วิศวกรรมไฟฟ้า) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผศ.ดร. ธนิต พุทธพงษ์ศิริพร
University of Pittsburgh
M.S.(Industrial Engineering),
University of Pittsburgh
วศ.บ.(วิศวกรรมอุตสาหการ)
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Supply Chain Information Intelligent Technology
Bio-base Packaging from Madified Rice Flour
Food Traceability
รศ.ดร. พรธิภา องค์คุณารักษ์
Virginia Polytechnic Institute and State University
M.S. (James A. Linen III Memorial Prize)
(Industrial Engineering), Asian Institute of Technology
วท.บ. (เกียรตินิยมอันดับ 1)
(พัฒนาผลิตภัณฑ์) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
การจัดการโซ่อุปทานสำหรับในอุตสาหกรรมเกษตร
การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการตัดสินใจในอุตสาหกรรมเกษตร
อ. วัชรพงศ์ เลิศสุรวัฒน์
บธ.บ. (การจัดการ) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Technology and Innovation Management
Knowledge Management
Technopreneurship
ผศ.ดร. อภิชญา ลีลาวณิชกุล
Food Economics
รศ.ดร. ปรารถนา ปรารถนาดี
+66-2562-5091 (AIT Main Office)
parthana.p@gmail.com
Oregon State University
M.S. (Industrial Engineering)
Georgia Institute of Technology
วท.บ. (พัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร)
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
การวางแผนการผลิตและการจัดตารางการผลิต
การบริหารจัดการวัสดุคงคลัง
การวิจัยดำเนินงานประยุกต์
ดร. กฤษณา ตรีศีลวัฒนกุล
R&D Management
ผศ.ดร. ชุติมา ไวศรายุทธ์
University of Wisconsin-Madison
M.S. (Food Science),
University of Wisconsin-Madison
วท.บ.(วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร)
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Quality practices in food supply chains
Linear optimization for management decision
ดร. นันธวุฒิ ลีอมรสิริ
M.S. Human Resource Development & Organization Development. Pittsburg State University
B.B.A. Business Management Bangkok University
Performance management System
Mergers and Acquisitions
Organization development
ดร.คุณาลัย พลอยดนัย
M.Sc. (Marketing and Consumer Studies) Wageningen University, the Netherlands
เจ้าหน้าที่


