
ประวัติภาควิชาเทคโนโลยีการบรรจุ และวัสดุ
ภาควิชาเทคโนโลยีการบรรจุและวัสดุ (ชื่อเดิม ภาควิชาเทคโนโลยีการบรรจุ) ได้รับอนุมัติให้เปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการบรรจุ เป็นแห่งแรกในประเทศไทย ทั้งนี้ เนื่องจาก ได้ตระหนักในความสำคัญของการบรรจุที่มีต่อคุณภาพและการตลาดของผลิตภัณฑ์เกือบ ทุกประเภท กอปรกับการขยายตัวอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจของประเทศและความก้าว หน้าทางเทคโนโลยีของโลก ทำให้กระบวนการผลิตและแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรเป็นผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตรมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ต้องมีเทคโนโลยีการบรรจุที่ก้าวทันไปด้วย เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพตามความต้องการ ของผู้บริโภคและตลาดมากที่สุด เทคโนโลยีการบรรจุเป็นสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับการนำความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และการบริหาร มาประยุกต์เข้าด้วยกัน หลักสูตรของภาควิชามุ่งเน้นให้บัณฑิตเป็นผู้มีความรู้ และความสามารถในกระบวนการผลิตวัสดุบรรจุ การผลิตภาชนะบรรจุ ระบบการบรรจุ เครื่องจักร เครื่องมือทางการบรรจุ การออกแบบภาชนะบรรจุ ให้สอดคล้องกับผลิตภัณฑ์และการตลาด เพื่อให้สามารถนำความรู้เหล่านี้ไปใช้ในพัฒนาและยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ลดการเสื่อมเสีย เพิ่มอายุการเก็บรักษาและส่งเสริมการจำหน่าย
พ.ศ. 2523 ก่อตั้งขึ้นในชื่อของภาควิชาเทคโนโลยีการบรรจุ เปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีการบรรจุ เมื่อปี พ.ศ. 2528
พ.ศ. 2544 ภาควิชาเทคโนโลยีการบรรจุและวัสดุ ได้เสนอหลักสูตรปริญญาโท สาขาเทคโนโลยีการบรรจุ และได้รับความเห็นชอบจากทบวงมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2544 และเริ่มรับนิสิตปริญญาโท เป็นรุ่นแรก ในภาคต้นปีการศึกษา 2545
ปี พ.ศ. 2550 ภาควิชาเทคโนโลยีการบรรจุและวัสดุ ได้รับความเห็นชอบจากทบวงมหาวิทยาลัยเพื่อเปิดรับนิสิตปริญญาเอกรุ่นแรก
พ.ศ. 2552 ได้รับการประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้รวมกับโครงการจัดตั้งภาควิชาเทคโนโลยีทางกระบวนการเคมีและฟิสิกส์ และเปลี่ยนชื่อภาควิชาเป็น "ภาควิชาเทคโนโลยีการบรรจุและวัสดุ (Department of Packaging and Materials Technology: PKMT)"
สาขาวิชาเทคโนโลยีการบรรจุ
ศึกษาเกี่ยวกับการนำเอาความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มาประยุกต์ใช้ในการผลิตภาชนะบรรจุ และการวิเคราะห์หากระบวนการที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ ลดการสูญเสียทั้งผลิตผลทางการเกษตร และอุตสาหกรรม รวมทั้งพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพตามความต้องการของผู้บริโภคหรือตลาด
ผู้สำเร็จการศึกษา สามารถทำงานในภาคอุตสาหกรรม เช่น ทำหน้าที่ให้คำแนะนำด้านเทคนิค ควบคุมระบบการบรรจุและการใช้งานภาชนะบรรจุ หรือรับราชการเป็นนักวิจัย ในหน่วยงานภาครัฐ เช่น สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและมหาวิทยาลัย เป็นต้น
หลักสูตร
ปริญญาตรี
โครงสร้างหลักสูตร
วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีการบรรจุ)
วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีการบรรจุ) นิสิตที่เลือกเรียนวิชาสหกิจ
คำอธิบายรายวิชา
หลักสูตร
ปริญญาโท
โครงสร้างหลักสูตร
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการบรรจุ แผน ก แบบ ก 1
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการบรรจุ แผน ก แบบ ก 2
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการบรรจุ แผน ข
คำอธิบายรายวิชา
หลักสูตร
ปริญญาเอก
โครงสร้างหลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการบรรจุ แบบ 1.1
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการบรรจุ แบบ 1.2
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการบรรจุ แบบ 2.1
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการบรรจุ แบบ 2.2
คำอธิบายรายวิชา
คณาจารย์
ดร. ณัฐทินี บำบัดสรรพโรค
วศ.บ. (ปิโตรเคมีและวัสดุพอลิเมอร์) มหาวิทยาลัยศิลปากร
M.Eng. (Pulp & Paper Technology), Asian Institute of Technology, ประเทศไทย
ความปลอดภัยและกฎหมายของบรรจุภัณฑ์อาหารที่มีวัสดุผสมระดับนาโน
บรรจุภัณฑ์อาหารที่มีวัสดุผสมระดับนาโน
Nano-enabled Food Packaging, Packaging safety & Laws for Nano-enabled Food Packaging, Nanocellulose, Cellulose Nanocomposite
ดร. อุรุชยา สนแจ้ง
M.S. สาขา Packaging, Michigan State University, USA
วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการบรรจุ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ดร. เกียรติชัย วาดอักษร
วศ.บ. (วิศวกรรมเคมี), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ประเทศไทย
โมเดลการไมเกรชั่นสำหรับวัสดุสัมผัสอาหาร
การสังเคราะห์สารเคมีชีวภาพทางการบรรจุ
การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตแป้งดัดแปร
รศ.ดร. อำพร เสน่ห์ (หัวหน้าภาควิชาฯ)
M.S. (Chemical Engineering), University of South Carolina, USA
วท.บ. (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ประเทศไทย
Packaging process and machinery
Packaging management
รศ.ดร. ธัญญารัตน์ จิญกาญจน์
M.S. (Packaging Technology), Rochester Institute of Technology, USA
วท.บ. (เทคโนโลยีการบรรจุ), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ประเทศไทย
Packaging process and machinery
Packaging management
รศ.ดร. ธาริณี นามพิชญ์
วศ.ม. (วิศวกรรมเคมี), มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, ประเทศไทย
วท.บ. (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร), สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, ประเทศไทย
Polymer blends
Nanocomposite materials
รศ.ดร.ภาณุวัฒน์ สรรพกุล
M.Sc.Tech (Engineering Materials), The University of New South Wales, Australia
วท.ม. (พัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ประเทศไทย
วท.บ. (พัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ประเทศไทย
Active and intelligent packaging
Edible films and coatings
Smart packaging
รศ.ดร.รังรอง ยกส้าน (รองหัวหน้าภาควิชาฯ)
วท.ม.(วิทยาศาสตร์พอลิเมอร์), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (วิทยาลัยปิโตรฯ), ประเทศไทย
วท.บ.(วิทยาศาสตร์เคมี), มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, ประเทศไทย
Biopolymers and bio-based materials
Polymer blends and composites
Nanoparticles and nanocapsules
รศ.ดร. เลอพงศ์ จารุพันธ์ (รองหัวหน้าภาควิชาฯ)
M.S. (Mechanical Engineering), Syracuse University, USA
วท.บ. (เทคโนโลยีการบรรจุ), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ประเทศไทย
Distribution packaging
Environmentally conscious packaging
รศ.ดร. วาณี ชนเห็นชอบ
M.S. (Packaging), Michigan State University, USA
วท.บ. (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ประเทศไทย
Distribution packaging of fresh produce
ดร.ภัทรินทร์ ลีลาภิวัฒน์
วท.ม. (เทคโนโลยีการบรรจุ), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ประเทศไทย
วท.บ. (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ประเทศไทย
Food packaging
Permeability of packaging materials
รศ.ดร.ณัฐดนัย หาญการสุจริต
น.บ. (นิติศาสตรบัณฑิต), มหาวิทยาลัยรามคำแหง, ประเทศไทย
ปร.ด.(วิทยาศาสตร์การอาหาร), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ประเทศไทย
วท.บ.(วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ประเทศไทย
Active packaging for shelf-life extension
Edible films and capsules
Bioplastic for food packaging
ดร.ปิยะวณี จริยะสกุลโรจน์
วท.บ (เทคโนโลยีกระบวนการทางเคมีและฟิสิกส์), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ประเทศไทย
Polymer processing and microstructural analysis
Plastic film technology and functional barrier
Biodegradable packaging for planting
อาจารย์เจนณัช สดไสย์
ศก.บ. (ออกแบบนิเทศศิลป์), มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ประเทศไทย
Corporate branding and graphic design
Functional product & packaging design
ผศ.ดร.บุศรินทร์ จงเจริญยานนท์
M.Sc. (Bioscience and Biotechnology), Kyushu University, Japan
วท.บ. (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ประเทศไทย
Food packaging
เจ้าหน้าที่









