The Faculty of Agro-Industry at Kasetsart University was established on 23 May 1980, though courses covering aspects of agro-industry had […]

เทคโนโลยีชีวภาพ

เทคโนโลยีชีวภาพก้าวไกล อุตสาหกรรมเกษตรไทยยั่งยืน

เทคโนโลยีชีวภาพเป็นสาขาวิชาที่จัดการศึกษาโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เข้าใจการประยุกต์วิชาพื้นฐานหลัก คือ เคมีชีวภาพ จุลชีววิทยา และหลักพันธุวิศวกรรม เพื่อนำมาใช้ในกระบวนการเปลี่ยนแปลงวัตถุดิบทางชีวภาพ เพื่อผลิตสารเคมีชีวภาพที่มีประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ เช่น กรดอินทรีย์ เอนไซม์ วิตามิน กรดอะมิโน สารปฏิชีวนะ แอลกอฮอล์ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการผลิตโปรตีนจากจุลินทรีย์ เป็นต้น นอกจากนี้ สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพยังได้จัดการศึกษาเกี่ยวกับการบำบัดของเสียและการนำของเสียมาใช้ประโยชน์ รวมทั้งการศึกษาเกี่ยวกับการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโดยอาศัยความรู้ทางด้านเศรษฐศาสตร์ หลักการจัดการ และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ นิสิตซึ่งศึกษาในสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพจะเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้จุลินทรีย์และตัวเร่งทางชีวภาพสำหรับกระบวนการผลิต เข้าใจถึงกรรมวิธีการผลิตที่เหมาะสมต่อการทำงานของจุลินทรีย์ และตัวเร่งทางชีวภาพ ตลอดจนการออกแบบและควบคุมเครื่องมือซึ่งใช้ในกระบวนการผลิต ภาควิชาฯ จัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี และบัณฑิตศึกษาในหลีกสูตรปกติ และหลักสูตรนานาชาติ ทั้งระดับปริญญาโทและปริญญาเอก เพื่อสนองตอบต่อการพัฒนาประเทศทางด้านเทคโนโลยี ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ และมีความรู้ความสามารถเฉพาะด้านทางเทคโนโลยีชีวภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักสูตรนานาชาติ ยังก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ และเทคโนโลยีระหว่างประเทศด้วย

วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีชีวภาพ)

ผลิตบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อสนองต่ออุตสาหกรรมเกษตรไทย ให้เป็นผู้ที่มีความรู้ลึกซึ้งในการใช้จุลินทรีย์และตัวเร่งทางชีวภาพสำหรับกระบวนการผลิตทางชีวภาพ มีความโดดเด่นในทักษะการออกแบบกระบวนการและควบคุมเครื่องมือซึ่งใช้ในกระบวนการผลิต

 

โครงสร้างหลักสูตรและคำอธิบายรายวิชา

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีชีวภาพ) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566)
More details of courses in English version can be downloaded ที่นี่.
รายละเอียดเกี่ยวกับรายวิชาในหลักสูตร ที่นี่.

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีชีวภาพ) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561)
More details of courses in English version can be downloaded ที่นี่.
รายละเอียดเกี่ยวกับรายวิชาในหลักสูตร ที่นี่.

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีชีวภาพ)

ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพมุ่งมั่นสร้างบุคคลากรป้อนสู่สถาบันวิจัยชั้นนำและอุตสาหกรรมฐานชีวภาพ ได้แก่ อุตสาหกรรมน้ำตาล อุตสาหกรรมพลังงานชีวมวล ให้เป็นผู้มีวิสัยทัศน์ มีความคิดสร้างสรรค์และมีมุมมองด้านอุตสาหกรรม สามารถเสนอแนวทางการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการวิจัยได้ และมีความสามารถสื่อสารเจรจาต่อรองที่ดี

 

โครงสร้างหลักสูตรและคำอธิบายรายวิชา

More details of courses in English version can be downloaded ที่นี่.
รายละเอียดเกี่ยวกับรายวิชาในหลักสูตร ที่นี่.

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (เทคโนโลยีชีวภาพ)

ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพเปิดสอนระดับปริญญาเอกเป็นแห่งแรกของประเทศไทย เรายังคงมุ่งมั่นผลิตบุคคลากรวิจัยที่มีคุณภาพ มีวิสัยทัศน์และมุมมองระดับสากล มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถดำเนินการวิจัยเชิงลึกและมีทักษะการสื่อสารที่ดีสามารถนำไปใช้ในสายอาชีพต่างๆได้

 

โครงสร้างหลักสูตรและคำอธิบายรายวิชา

More details of courses in English version can be downloaded ที่นี่.
รายละเอียดเกี่ยวกับรายวิชาในหลักสูตร ที่นี่.

หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีของน้ำตาล

เราผลิตบุคคลากรระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตทีมีความรู้ความสามารถและเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในสาขาเทคโนโลยีของน้ำตาลให้กับโรงงานอุตสาหกรรมและหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนแผนการพัฒนาอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลของไทย โดยเพิ่มพูนความรู้และความสามารถทั้งทางด้านจรรยาบรรณและจริยธรรมให้แก่บุคคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงงาน เสริมสร้างความรู้ความสามารถเฉพาะด้านให้แก่บุคคลากรของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล เพื่อทำการวิจัยวิเคราะห์ และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในโรงงาน

 

โครงสร้างหลักสูตรและคำอธิบายรายวิชา

รายละเอียดเพิ่มเติม เว็บไซต์

คณาจารย์

ดร.บัณฑิตา วานิกร

Food product development

ผศ. ดร.บุญทิวา นิลจันทร์

Sucrochemistry and sugar technology

รศ. ดร.กิติญา วงษ์คำจันทร์ โอราน

Food safety, food microbiology & applied microbiology

ผศ. ดร.กิติพงษ์ รัตนาภรณ์

Biochemical Engineering Fermentation Technology Recombinant Protein Expression in Plants

รศ.ดร. กล้าณรงค์ ศรีรอต

Starch Technology, Sugar Technology, Ethanol Technology

รศ. ดร.มัสลิน นาคไพจิตร

The impact of probiotic, prebiotic and symbiotic on host health Gut Microbiota

ดร.นิสิต วัฒนศักดิ์ภูบาล

Synthetic biology Protein engineering Metabolic engineering Fermentation technology

รศ. ดร.ณัฐกานต์ นิตยพัธน์

Biological waste and wastewater treatment

ผศ. ดร.ไพบูลย์ ตั่นสกูล

Proteomics, Metabolomics, Metagenomics

รศ. ดร.ภคมน จิตประเสริฐ

Increasing survival of Lactobacillus reuteri KUB-AC5 as probiotics in feeds by encapsulation with biopolymers

รศ. ดร.ประกิต สุขใย

The effects of cellulose extraction methods

รศ. ดร.ประมุข ภระกูลสุขสถิตย์

Valorization of biomass in biorefinery technology

ศ. ดร.สาโรจน์ ศิริศันสนียกุล

Bioprocess engineering Fermentation technology

ผศ. ดร.สุมัลลิกา โมรากุล

Alcoholic Fermentation Alcoholic Beverages

รศ. ดร.สุนีย์ นิธิสินประเสริฐ

Microbial genetics : lactic acid bacteria, Bacillus sp.

รศ. ดร.สุทธิพันธุ์ แก้วสมพงษ์

Enzyme technology

ผศ. ดร.ธนัท อ้วนอ่อน

Rheological properties of semi-solid food, Hydrocolloid application and Extraction

รศ. ดร.อุลัยวรรณ์ วิทยเกียรติ

Malting and Brewing technology, Beverage Technology

รศ. ดร.วีระสิทธิ์ สรรพมงคลไชย

Enzyme technology Industrial fermentation, Rice utilization, Environmental Biotechnology

ดร.วิลาวัลย์ สินธุประภา

Bacterial genetics

รศ. ดร.วิรัตน์ วาณิชย์ศรีรัตนา

Bioprocess modeling adn simulation, Optimal controls for bioprocesses, Experimental designs.

เจ้าหน้าที่

ณัทชยุต บูรณะวุฒิ

นักวิทยาศาสตร์
สำนักงาน: Room 3425, 4th floor, AI Building 3
โทร 080-255-0206

ภัสสร สุหิรัญญวานิช

เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป
สำนักงาน: Room 3601, 6th floor, AI Building 3
โทร 02-562-5074

พัชรินทร์ จรัสตระกูล

เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป
สำนักงาน: Room 3601, 6th floor, AI Building 3
โทร 02-562-5075

สิริวัฒนา จิตตรีพล

นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ
สำนักงาน: Room 3425, 4th floor, AI Building 3
โทร 02-562-5074

สิริรัตน์ นกแก้ว

เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ชำนาญการ
สำนักงาน: Room 3601, 6th floor, AI Building 3
โทร 02-562-5075

พิชัย ศักดิ์วิชิต

ช่างเทคนิค ชำนาญงาน
สำนักงาน: Room 3425, 4th floor, AI Building 3
โทร 02-562-5074 Ext. 5342

บุญรวย ประชุมชัย

พนักงานทั่วไป
สำนักงาน: Room 3601, 6th floor, AI Building 3
โทร 02-562-5074

ลัดดา วังศิลาบัตร

พนักงานทั่วไป
สำนักงาน: Room 3601, 6th floor, AI Building 3
โทร 02-562-5074

เกศิณี เถาว์โท

เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป
สำนักงาน: Room 3410, 4th floor, AI Building 3
โทร 02-562-5074 Ext. 5343

กนกกาญจน์ ขวัญบุญจันทร์

นักวิชาการเงินและบัญชี
สำนักงาน: Room 3410, 4th floor, AI Building 3
โทร 02-562-5074 Ext. 5343

งานวิจัย

Author Name

Thai Rice Malt for Thai citizen

หัวข้อวิจัย

Probiotics for health
Thai Rice Malt for Thai citizen

งานวิจัยเพิ่มเติม

ข่าวสาร

Kasetsart Faculty of Agro-Industry Annual Retirement 2021