วิทยาการสิ่งทอ
ผสานทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสิ่งทอ ความคิดสร้างสรรค์ สู่ธุรกิจสิ่งทอและแฟชั่น
ภาควิชาวิทยาการสิ่งทอ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดตั้งขึ้นตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 ให้สถาบันอุดมศึกษาของรัฐเปิดหลักสูตรใหม่ที่มีความจำเป็นกับการพัฒนาเศรษฐกิจ และสอดคล้องกับอุตสาหกรรมหลักของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมสิ่งทอ
หลักสูตรของภาควิชาวิทยาการสิ่งทอ มุ่งเน้นการผสานความรู้ทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งทอ นวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ และการบริหารธุรกิจ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ธุรกิจสิ่งทอและแฟชั่น หลักสูตรมีเนื้อหาที่ครอบคลุมตั้งแต่วิทยาศาสตร์เส้นใย เส้นด้าย ผ้าผืน กระบวนการเคมีสิ่งทอ เทคโนโลยีและกระบวนการผลิตเครื่องนุ่งห่ม การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอ การจัดการสินค้าสิ่งทอ และการสร้างแบรนด์แฟชั่น รวมทั้งมีการเรียนแบบโปรเจ็ค โดยมีภาคอุตสาหกรรมเข้ามามีบทบาทในการเรียนและเป็นกรณีศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากปัญหาและสถานการณ์จริงและมีทักษะความรู้ที่ตอบรับโลกอนาคตของอุตสาหกรรมสิ่งทอและแฟชั่น นิสิตที่จบจากภาควิชาฯ สามารถออกไปประกอบอาชีพเป็นเจ้าของแบรนด์แฟชั่น ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ นักวางแผนและจัดซื้อสินค้าแฟชั่น ผู้จัดการสินค้าในขั้นตอนการผลิต นักพัฒนาสิ่งทอ นักออกแบบแฟชั่นและสื่งทอ หรือนักทดสอบสิ่งทอ เป็นต้น
วิทยาศาสตรบัณฑิต (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งทอ)
หลักสูตรของภาควิชาวิทยาการสิ่งทอ ผสานความรู้ทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งทอ นวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ และการบริหารธุรกิจ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ธุรกิจสิ่งทอและแฟชั่น หลักสูตรมีเนื้อหาที่ครอบคลุมตั้งแต่วิทยาศาสตร์เส้นใย เส้นด้าย ผ้าผืน กระบวนการเคมีสิ่งทอ เทคโนโลยีและกระบวนการผลิตเครื่องนุ่งห่ม การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอ การจัดการสินค้าสิ่งทอ และการสร้างแบรนด์แฟชั่น รวมทั้งมีการเรียนแบบโปรเจ็ค โดยมีภาคอุตสาหกรรมเข้ามามีบทบาทในการเรียนและเป็นกรณีศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากปัญหาและสถานการณ์จริงและมีทักษะความรู้ที่ตอบรับโลกอนาคตของอุตสาหกรรมสิ่งทอและแฟชั่น
นิสิตที่จบจากภาควิชาฯ สามารถออกไปประกอบอาชีพเป็นเจ้าของแบรนด์แฟชั่น ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ นักวางแผนและจัดซื้อสินค้าแฟชั่น ผู้จัดการสินค้าในขั้นตอนการผลิต นักพัฒนาสิ่งทอ นักออกแบบแฟชั่นและสื่งทอ หรือนักทดสอบสิ่งทอ เป็นต้น [นิสิตรหัส 67 ใช้หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566]
โครงสร้างหลักสูตรและคำอธิบายรายวิชา
ดาวน์โหลดรายละเอียดหลักสูตรได้ ที่นี่
รายละเอียดเพิ่มเติม เว็บไซต์
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีอุตสาหกรรมและการจัดการสินค้าสิ่งทอ)
หลักสูตรนี้เหมาะกับผู้ที่ทำงาน ผู้ที่กำลังมองหาช่องทางธุรกิจในอุตสาหกรรมสิ่งทอ บุคคลทั่วไปที่สนใจ ต้องการฝึกการทำวิจัยและวิเคราะห์ปัญหาเพื่อให้งานบรรลุผล ฝึกการวางแผนและพัฒนากระบวนการทางความคิดที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการจัดการสินค้าสิ่งทอ โดยนิสิตจะได้รับการฝึกให้สามารถแนะนำ เลือก วางแผนและทดลองทำจริงเพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ ช่วยสร้างวิธีการคิดอย่างเป็นระบบ
โครงสร้างหลักสูตรและคำอธิบายรายวิชา
ดาวน์โหลดรายละเอียดหลักสูตรได้ ที่นี่
รายละเอียดเพิ่มเติม เว็บไซต์
คณาจารย์

ผศ. ดร.ปวริน ตันตริยานนท์
การจัดการนวัตกรรมสิ่งทอและแฟชั่น การออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอและแฟชั่น

ดร.ดวงรัตน์ หิรัญญะสิริ
เทคโนโลยีเครื่องนุ่งห่มและกระบวนการผลิต การบริหารการผลิต การจัดการสินค้าคงเหลือ

ผศ. ดร.พิธาลัย เล็กอุทัย
การประเมินทางประสาทสัมผัสบนสิ่งทอ การออกแบบผลิตภัณฑ์และหัตถอุตสาหกรรมสิ่งทอ

อาจารย์เจนจิรา เหลืองวัฒนะ
การตลาดและการสร้างแบรนด์แฟชั่น การศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค

รศ. ดร.จันทร์ทิพย์ เศรษฐยานนท์
การย้อมสีสิ่งทอ การตกแต่งสำเร็จและกระบวนการเชิงเคมีสำหรับสิ่งทอ วัสดุชีวภาพสำหรับการใช้งานด้านสิ่งทอ

ผศ. ดร.ขนิษฐา วัชราภรณ์
เคมีสิ่งทอ (ฟอก – ย้อม), การย้อมสีธรรมชาติ, การวัดค่าสี, อนุภาคนาโน, การย้อมไหม

ผศ. ดร.กรทิพย์ วัชรปัญญาวงศ์ เตชะเมธีกุล
ระบบการผลิตแบบ Mass Customization การสร้างแบบตัดและการตัดเย็บเสื้อผ้าสตรี การจัดการโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ การพัฒนาและจัดการนวัตกรรมในสิ่งทอและผลิตภัณฑ์ การจัดการคุณภาพ

ผศ. ณัฐดนย์ รุ่งเรืองกิจไกร
เทคนิคการย้อมสีธรรมชาติ และวัสดุที่ยั่งยืน

อาจารย์นวรัตน์ ชาติวิวัฒน์พรชัย
Natural dye techniques and material sustainability

ผศ. ดร.พรรณภัทร พรหมเพ็ญ
การพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอ เทคโนโลยีผ้าไม่ถักไม่ทอ เสื้อผ้าเพื่อการป้องกัน

ผศ. ผุสดี แซ่ลิ่ม
วิทยาศาสตร์เส้นใย, วิทยาศาสตร์ของสี, ไหม

ผศ. ดร.พรทิพย์ ธูปถมพงศ์
สีธรรมชาติและเคมีสิ่งทอ สิ่งทอที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือทิ้งทางสิ่งทอ
เจ้าหน้าที่

กนกพร เทียมปาน
เจ้าหน้าที่ฝ่ายดูแลนิสิต
สถานที่ทำงาน: ห้องธุรการ ตึกอุตสาหกรรมเกษตร 3 ชั้น 2
โทร 02-562-5000 ต่อ 5317
ธีรภัทร ปัญญาเพียร
นักวิทยาศาสตร์
สถานที่ทำงาน: ห้องธุรการ ตึกอุตสาหกรรมเกษตร 3 ชั้น 2
โทร 02-562-5000 ต่อ 5310
กิติยาพร ทิมาไชย
นักวิทยาศาสตร์
สถานที่ทำงาน: ห้องธุรการ ตึกอุตสาหกรรมเกษตร 3 ชั้น 2
โทร 02-562-5000 ext. 5310
ชลิตา ถือตรง
เจ้าหน้าที่ฝ่ายดูแลนิสิต
สถานที่ทำงาน: ห้องธุรการ ตึกอุตสาหกรรมเกษตร 3 ชั้น 2
โทร 02-562-5000 ต่อ 5310