งานบริการ
ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ค่าทางน้ำตาลและสารอนุพันธ์
วัตถุประสงค์ของห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ค่าทางน้ำตาลและสารอนุพันธ์ รับตรวจวิเคราะห์องค์ประกอบและคุณภาพของอ้อยและผลิตภัณฑ์น้ำตาล รวมถึงสารอนุพันธ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
รายการวิเคราะห์
วิเคราะห์องค์ประกอบทั่วไป (General composition analysis), วิเคราะห์ทางกายภาพ (Physical properties), องค์ประกอบทางน้ำตาล (Sugar composition), สารอินทรีย์ (Organic compound), การวิเคราะห์ทางด้านจุลินทรีย์ (Microbiological analysis), การวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของกลุ่มลิกโนเซลลูโลสิก (Lignocellulosic compound)
ติดต่อ
ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ค่าทางน้ำตาลและสารอนุพันธ์
Room 4311 3rd Floor AI3 Building, Department of Biotechnology, Kasertsart University, 50 Ngamwongwarn Road, Ladyao, Chatuchak, Bangkok
หน่วยบริการให้คำปรึกษาด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
บริการให้คำปรึกษาด้าน:
- การวิจัยและพัฒนาวัสดุสัมผัสอาหาร
- การรับรองคุณภาพวัสดุสัมผัสอาหาร
- การควบคุมกระบวนการผลิตวัสดุสัมผัสอาหาร
- ด้านการทดสอบวัสดุสัมผัสอาหาร
- การอบรม สัมมนา ถ่ายทอดความรู้ด้านกฎหมายและการทดสอบวัสดุสัมผัสอาหาร
ติดต่อ
เบอร์ติดต่อ02-562-5097อีเมลrangrong.y@ku.ac.thหน่วยบริการให้คำปรึกษาด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
บริการให้คำปรึกษาด้าน:
- การวิจัยและพัฒนาวัสดุสัมผัสอาหาร
- การรับรองคุณภาพวัสดุสัมผัสอาหาร
- การควบคุมกระบวนการผลิตวัสดุสัมผัสอาหาร
- ด้านการทดสอบวัสดุสัมผัสอาหาร
- การอบรม สัมมนา ถ่ายทอดความรู้ด้านกฎหมายและการทดสอบวัสดุสัมผัสอาหาร
ติดต่อ
เบอร์ติดต่อ02-562-5045อีเมลpkmt@ku.ac.thKasetsart University Sensory and Consumer Research Center (KUSCR)
หน่วยวิจัยทางประสาทสัมผัสและผู้บริโภคแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นหน่วยงานวิจัยและหน่วยงานให้บริการทางวิชาการในด้านการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสและการทดสอบผู้บริโภค เพื่อการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร คณาจารย์และบุคลากรฝ่ายสนับสนุนของหน่วยวิจัยฯ มีความรู้ ความสามารถ และประสบกาณ์ในการดำเนินการทดสอบทางประสาทสัมผัสผลิตภัณฑ์ทั้งอาหารและไม่ใช่อาหาร นอกจากนี้คณะผู้ทดสอบของหน่วยวิจัยยังมีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในการทำงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 2,000 ชั่วโมง รวมทั้งมีห้องทดสอบที่ได้มาตรฐานและซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก จึงสามารถสร้างสรรค์งานวิจัยและให้บริการทางวิชาการเพื่อตอบสนองความต้องการของทั้งภาครัฐและภาคอุตสาหกรรมได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และครบวงจร
ตัวอย่างงานวิจัยและงานบริการวิชาการของหน่วยวิจัย
- การศึกษาโพรไฟล์ทางประสาทสัมผัสของผลิตภัณฑ์อาหารและไม่ใช่อาหาร โดยผู้เชี่ยวชาญการทดสอบทางประสาทสัมผัส เพื่อปรับปรุงสูตรและกระบวนการผลิต ระบุอัตลักษณ์ และสร้างผลิตภัณฑ์นวัตกรรม
- การศึกษาพฤติกรรม อารมณ์ และการยอมรับของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ เช่น น้ำสลัด ไอศกรีมโมจิ ขนมปัง ไส้กรอก เป็นต้น
- การศึกษาแผนผังความชอบ (preference mapping) เพื่อระบุลักษณะทางประสาทสัมผัสที่เป็นตัวกำหนดความชอบของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์
ติดต่อ
เบอร์ติดต่อ025625004 ext. 5554 0894418352LINE@KUSCRInnoFASHION Center
พันธกิจ
- เพื่อเป็นศูนย์กลางในการบูรณาการการเรียนการสอน การวิจัยและบริการวิชาการของภาควิชาฯ เพื่อพัฒนางานบริการวิชาการด้านนวัตกรรมสิ่งทอและแฟชั่น
- เพื่อเป็นศูนย์กลางในการรองรับงานบริการวิชาการของภาควิชาฯ ให้กับภาคธุรกิจอุตสาหกรรมและสังคม
- เพื่อเป็นศูนย์กลางในการบูรณาการความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม หน่วยงานภาครัฐ และสมาคมต่างๆ รวมทั้งสถาบันการศึกษาทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ในการพัฒนารูปแบบการบริการต่างๆ เพื่อพัฒนาทักษะความรู้ใหม่ และพัฒนาทักษะความรู้ที่สูงขึ้น (New-skill/ Upskill/Re-skill) ที่ตอบโจทย์ผู้ประกอบการ บุคคลากรในภาคธุรกิจอุตสาหกรรม และสังคม
บริการให้คำปรึกษาด้าน:
- การจัดอบรมสัมมนาและการจัดอบรมหลักสูตรระยะสั้นด้านสิ่งทอและแฟชั่น เช่น สิ่งทอสีเขียว การทดสอบทางประสาทสัมผัส การทดสอบสมรรถนะสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอและแฟชั่น การพัฒนาสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มที่มีสมบัติพิเศษ การพัฒนาการผลิตในปริมาณมากเพื่อลูกค้าเฉพาะกลุ่ม การสร้างแบรนด์และการจัดการสินค้าสิ่งทอและแฟชั่น
- การพัฒนางานวิจัย ซึ่งมีกลุ่มวิจัย Eco-Textile, Performance Textile, Textile Sensory, Design & Development for Innovative Textile and Fashion, Mass Customization และ Fashion Business & Merchandising
- การให้บริการวิชาการและการให้คำปรึกษาสำหรับธุรกิจและอุตสาหกรรมสิ่งทอและแฟชั่น
ติดต่อ
ภาควิชาวิทยาการสิ่งทอ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เบอร์ติดต่อ02-562-5000 ext. 5310อีเมล innofashion.ku@gmail.com